สรุปงานวิจัย
การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ของ ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์
สรุปวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีคะแนนทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์โดยรวมสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง เนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเป็น
รูปแบบการสอนที่มีการวางแผนในการจัดการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน
ในขั้นที่ 1 ขั้นเด็ก
ทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ เด็กได้สนทนา
เล่าประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความคิด
เห็นได้เลือกเรียนในหัวข้อที่สนใจ ได้จำแนกประเภท
จัดกลุ่ม นับจำนวนและเปรียบเทียบจำนวน
ของหัวข้อเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 ขั้นเด็กค้นคว้าวิจัยหาความรู้เด็กได้เดินทางไปศึกษาแหล่ง
เรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีโอกาสคิดตัดสินใจเลือกแนวทางในการปฏิบัติ
การให้เด็กได้ หยิบ จับ
สัมผัส เรียนรู้จากของจริง เมื่อเกิดข้อสงสัยสามารถค้นคว้าหาคำตอบจากแหล่งข้อมูล
กิจกรรมที่เด็ก
เลือกการประกอบอาหาร เด็กสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาหาความรู้ด้วยการวาดภาพระบายสี
ปั้น
ดินน้ำมัน เล่นทราย และนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ขั้นที่ 3 ขั้นการประเมิน เด็กและครูร่วมกัน
ประเมินผล การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยทุกขั้นตอนเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ในการค้นคว้าหาคำตอบซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
อย่างเต็มตามศักยภาพอย่างต่อต่อเนื่องและมีความสุขในการเรียนรู้
การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้า
มามีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละหัวข้อทำให้เด็กได้มีโอกาสใน
การซักถามข้อสงสัยได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือเด็กนักเรียนชาย - หญิงอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลัง
ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านสามแยก ตำบลวังบัว
อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร
เขต 2
จำนวน
15 คน ซึ่งเลือกมาด้วยการเลือกแบบเจาะจงจากห้องที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น
การประเมิน
ประเมินโดยเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย